วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย

ในอดีต ไม่มีใครปฏิเสธได้เลยว่าไผ่เคียงคู่กับคนไทยทั้งในเมืองและชนบท ร้อยละ 80 ของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยไผ่ตั้งแต่เสาเรืิอน(กระท่อมไม้ไผ่) พื้นบ้าน ฝาบ้าน ส่วนประกอบของบ้านเรือนเกือบทั้งหมดเป็นไม้ไผ่ที่ถูกบรรจงสร้างอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และของใช้ในชีวิตประจำวันทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กระจาด กระด้ง ตระกร้า กระบุง ที่นึ่งข้าว ฯลฯ อีกมากมายที่แปรรูปจากไม้ไผ่ทั้งสิ้น ตั้งแต่เกิดจนตายเราจะเห็นต้นไผ่ปลูกไว้ข้างรั้วรอบบ้านเป็นทั้งแนวป้องกันขโมย พร้อมทั้งป้องกันลม ในส่วนของหน่อไม้ก็สามารถมาทำอาหารได้หลากหลาย ลำไผ่ทุกส่วนล้วนเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
ไผ่.... ลดต้นทุนการครองเรือนมหาศาล เช่นใช้สร้างบ้าน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช เครื่องมือจับสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก เราจะเห็นว่าการลงทุนในทุกรูปแบบที่ใช้ไผ่เข้ามาเป็นส่วนประกอบเพราะไผ่ราคาถูกและอาจไม่ได้ซื้อเลยถ้าเราปลูกไผ่ไว้
ไผ่... ในปัจจุบันถูกบรรจงสร้างมาเป็นส่วนประกอบในบ้านเรือนราคาสูง เช่น ใช้ไม้ไผ่อัีดตีฝ้า ตกแต่งประดับบ้านที่อยู่อาศัย สร้างบรรยากาศได้อย่างลงตัวและสร้างความรู้สึกในความเป็นไทยได้อย่างฝังลึกใครก็ต้องมองและชื่นชม
ทุกวันนี้ ไผ่... เข้ามามีบทบาทในครัวเรือนพืชปลอดภัยจากสารพิษ ที่หาง่ายราคาถูก เพียงมีไผ่อยู่ริมรั้วบ้านไม่กี่ต้นก็สามารถลดภาระการเงินได้เป็นอย่างดี มื้อนี้และมื้อหน้าต้มหน่อไม้ และแกงหน่อไม้ ก็ยังเป็นอาหารจานโปรดที่ได้รสชาติบวกความประหยัดอีกทางเลือกหนึ่ง
ชีวิตที่ย้อนกลับ.... ทุกวันนี้ที่ผ่านมาเราพยายามจะลืมไผ่หันมาใช้วัสดุอื่นทดแทน เช่น เหล็ก ปูน กระเบื้อง มาถึงวันนี้ทุกคนเริ่มรู้แล้วว่าโรคภัยต่าง ๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ แตกต่างกับวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติโดยสิ้นเชิง หลายชีวิตเริ่มไขว่คว้าหวนคืนสู่กลับธรรมชาติ ชอบอยู่ ชอบนอน ชอบพักผ่อนกับร่มไม้ และกระท่อมริมสวน ริมคลอง และกระท่อมปลายนา ที่มีบรรยากาศของความสดชื่นบริสุทธิ์รอบทิศทางของที่อยู่อาศัยมีสานลมพัดผ่านไม่ใช่กลิ่นไอเย็นจากเคมีของเครื่องปรับอากาศ แต่เป็นกลิ่นไอของลมเย็นธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งกลิ่นของสมุนไพร ไม้หอมนานาพันธุ์ ถ้าได้นอนหลับซักตื่นดูเหมือนชีวิตที่ตื่นมาในวันรุ่งเป็นโลกใบใหม่ร่างกายและจิตใจดูเข้มแข็งขึ้นมาทันที นี่เพียงชั่วคืนเท่านั้น

ลักษณะของไม้ไผ่

๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


 

๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย

 


  ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว



 

ประโยชน์จากไม้ไผ่

ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก

 

ไผ่



ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

สรรพคุณของมะละกอ

สรรพคุณ
  • ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • เป็นยาระบาย
    ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย
    ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
    ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
    ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
  • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง           สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สารเคมี
  • ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
  • ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
  • ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%

ประโยชน์จากมะละกอ

 
 
 
ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การปลูกมะละกอ

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

มะละกอ


 
มะละกอ (Carica papaya L.) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่จัดอยู่ในวงศ์ Caricaceae เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ซึ่งต่อมาได้มีการนำไปขยายพันธุ์ทั่วโลก สามารถบริโภคได้ทั้ง ผลดิบและผลสุก มะละกอแพร่เข้ามาในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

มะละกอ เป็นพืชที่มีหลายเพศ (polygamous) บางต้นเป็นเพศผู้ มีเฉพาะดอกตัวผู้ซึ่งไม่มีเกสรตัวเมีย บางต้นเป็นเพศเมียมีดอกเฉพาะดอกตัวเมียซึ่งไม่มีเกสรตัวผู้ และบางต้นเป็นกระเทย คือมีดอกที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกกันมากคือพันธุ์ที่มีต้นแบบกระเทย เพราะสามารถผสมตนเอง (self pollination) ภายในดอกหรือภายในต้นเดียวกันได้ สามารถขยายพันธุ์ได้ดีเพราะให้เมล็ดที่มีอัตราการงอกเป็นต้นที่มีดอกกระเทยและต้นที่มีดอกตัวเมียในสัดส่วน 2 : 1 และต้นที่มีดอกกระเทยให้ผลที่มีรูปร่างยาว มีการให้ผลอย่างสม่ำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การแปรรูปจากกล้วย

 เมื่อปลูกกล้วยกินกันมากขึ้น ผลผลิตกล้วยที่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการอาจจะเหลือทิ้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไร้ประโยชน์ จึงควรนำมาแปรรูป เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตด้วย

การแปรรูปจากกล้วยดิบ
          ๑.  การทำกล้วยอบเนย  กล้วยฉาบ หรือ “กล้วยกรอบแก้ว” ใช้กล้วยดิบ  เช่น กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  กล้วยหักมุก  นำ มาฝานบางๆ ตามยาว  หรือตามขวาง อาจจะผึ่งลมสักครู่  หรือฝานลงกระทะทันทีก็ได้และทอดในกระทะที่ใส่น้ำมันท่วม เมื่อชิ้นกล้วยสุกจะลอย  ก็ตักขึ้นและซับน้ำมันด้วยกระดาษฟาง จากนั้นอาจนำไปคลุกเนย  เรียกว่า  กล้วยอบนย หรือฉาบให้หวานด้วยการนำไปคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวจนเกือบแห้งในกระทะ เรียกว่า กล้วยฉาบ หรือนำไปคลุกในน้ำเชื่อม แล้วเอาลงทอดอีกครั้งอย่างรวดเร็ว เรียกว่า กล้วยกรอบแก้ว
          ๒.  แป้งกล้วย นำกล้วยดิบมานึ่งให้สุก ปอกเปลือก หั่น และอบให้แห้งแล้วบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำขนมกล้วยและบัวลอย หรือผสมกับแป้งเค้กใช้ทำคุกกี้ได้ ทำให้มีกลิ่นหอมของกล้วย
การแปรรูปจากกล้วยสุก
          ๑.  น้ำผลไม้ นำเนื้อกล้วยที่สุกมาหมักใส่เอนไซม์เพกทิโนไลติก (pectinolytic) ความเข้มข้น ๐.๐๑ % เพื่อย่อย และบ่มไว้ที่อุณหภูมิ ๔๕ องศาเซลเซียส  นาน  ๑  ชั่วโมง จะได้น้ำกล้วยที่ใส
          ๒. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ยูกันดา รวันดา บุรุนดี  คองโก และแทนซาเนีย นิยมนำกล้วยมาทำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ในประเทศยูกันด เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า  วารากิ (Waragi)  ประเทศฝรั่งเศสนำเนื้อกล้วยสุกบดเหลวผสมกับน้ำ และทำให้ร้อน ๖๕ - ๗๐ องศาเซลเซียส นาน ๑ ชั่วโมง แล้วทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส  ต่อมาใส่เอนไซม์เพกทิเนส (pectinase) ทิ้งไว้นาน ๒๔ ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศที่เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์  นำส่วนที่เป็นกากมาบด แล้วนำส่วนที่เป็นน้ำมาหมักด้วยเชื้อ Saccharomyces  cerevisiae  ที่อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส     ภายใต้บรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจน จะได้สุราผลไม้ที่ทำจากกล้วย
          ๓.  กล้วยตาก (banana figs) นำกล้วยที่สุกงอมมาปอกเปลือก และนำไปตากแดด ๑ - ๒  แดด จากนั้นมาคลึงเพื่อให้กล้วยนุ่ม แล้วนำไปตากอีก ๕ - ๖  แดด หรือจนกว่ากล้วยจะแห้งตามต้องการ (ในทุกๆ วันที่เก็บให้นำกล้วยทั้งหมดมารวมกัน  น้ำหวานจากกล้วยจะออกมาทุกวัน และกล้วยจะฉ่ำ แล้วนำไปตากแดด)  ระวังอย่าให้แมลงวันตอม  ส่วนการตากอาจใช้แสงอาทิตย์  หรือเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือไฟฟ้า
          ๔. กล้วยกวน นำกล้วยสุกงอมมายี แล้วเคล้ากับน้ำตาลและกะทิ นำไปกวนในกระทะที่ไม่เป็นสนิม กวนที่ไฟอ่อนๆ จน  สุกเหนียว ปั้นเป็นก้อนกลม หรือสี่เหลี่ยมแล้วห่อด้วยกระดาษแก้ว
          ๕.  ทอฟฟี่กล้วย คล้ายกล้วยกวน แต่ใส่แบะแซ จึงทำให้แข็งกว่ากล้วยกวน
          ๖.  ข้าวเกรียบกล้วย ใช้กล้วยสุกผสมกับแป้งและเกลือ อาจเติมน้ำตาลเล็กน้อยนวดแล้วทำเป็นแท่งยาวๆ นึ่งให้สุก  เมื่อสุก ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารว่าง ข้าวเกรียบกล้วยนี้หากใช้กล้วยที่มีกลิ่นจะทำให้หอม

         กล้วยนอกจากนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ที่ได้กล่าวมาแล้ว  คนไทยยังนำผล  ปลี  และหยวกกล้วยมาทำอาหารทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น กล้วยเชื่อม  ขนม กล้วย  ข้าวต้มผัด  แกงเลียงหัวปลี  ยำหัวปลี  ทอดมันหัวปลี  และแกงหยวกกล้วย กล้วยจึงเป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วยได้นานัปการ 

อาหารจากกล้วย


กล้วยทอด

ขนมกล้วย

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยกวน

การปลูกกล้วย




  • การเตรียมแปลงปลูก ในพื้นที่ที่มีหญ้ารกควรทำการดายหญ้าออกก่อนการปลูกประมาณ 10 วัน จากนั้นพรวนดิน กลับดินให้ทั่วเพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง เหมาะแก่การปลูกพืชยิ่งขึ้น สำหรับบริเวณที่มีน้ำท่วม หากจำเป็นควรยกร่องพอควร

  • ระยะปลูก ระยะการปลูกกล้วยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าปลูกมากใกล้กันเกินไปจะทำให้เกิดร่มเงามาก หน่อที่จะแตกขึ้นมาใหม่จะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร เพราะได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ ดังนั้นการกำหนดระยะปลูกควรคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดิน และชนิดของพันธุ์กล้วยด้วย



  • ปลูกในที่ราบควรกำหนดระยะระหว่างแถวที่ปลูกให้ห่างกัน 5 เมตร ระหว่างต้น 5 เมตร ในดินที่สมบูรณ์ปานกลาง ไร่หนึ่ง ๆ จะปลูกได้ประมาณ 64 หน่อ
    การปลูกแบบยกร่องการปลูกค่อนข้างถี่ ห่างกันประมาณ 2.5-3.0 เมตร โดยการปลูกแบบนี้ต้องเว้นระยะปลูกถี่


    <>
  • วิธีการปลูก
  • ปลูกในที่ราบหลังจากกำจัดวัชพืช ขุดดินตลอดทั้งสวน ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน หลังจากนั้นจึงขุดหลุมขนาดความกว้าง ยา ลึก ด้านละ 50 เซนติเมตร กองดินชั้นบนไว้ทางหนึ่ง ดินชั้นล่างไว้ทางหนึ่ง เสร็จแล้วให้ไส่ดินชั้นบนลงไปก่อนพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วลงไปด้วยเพื่อให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วจึงวางหนอกล้วยที่เตรียมไว้ลงตรงกลางหลุม โดยให้ส่วนยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 4 นิ้ว ส่วนตาจะลึกในดินประมาณ 1 ฟุต การปลูกในฤดูผม ควรพูนดินกลบโคนต้นให้สูงไว้เพื่อป้องกันน้ำขัง
    การปลูกแบบยกร่องมักใช้กันแถบภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอม จะปลูกริมสันร่องทั้ง 2 ข้างตรงกลางเว้นไว้เป็นทางเดิน ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 เมตร ที่ใช้ระยะปลูกถี่เช่นนี้เพราะจะมีการปลูกใหม่ทุกปี

  • วิธีการให้น้ำ กล้วยเป็นพืชที่มีใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ต้องการน้ำมาก ตลอดปีมากกว่าพืชอื่น โดยเฉพาะในฤดูแล้ง และเนื่องจากรากที่หาอาหารส่วนใหญ่แผ่กระจายอยู่ใหล้กับผิวหน้าดิน จึงไม่ควรปล่อยให้ผิมหน้าดินแห้งเป็นอันขาด ถ้าผิวหน้าดินแห้งแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว

  • วิธีการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติงโตของกล้วยมาก กล่าวคือจะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรง ตกเครือเร็วและได้ผลโต การเจริญเติบโดของกล้วยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่กล้วต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง จะมีผมกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินในระยะที่ 2 อยู่ระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมาก อาหาร ๆ ต่าง จะถูกใช้โดยหน่อที่เริ่มแตกขึ้นมาระยะที่ 3 เป็นระยะจากตกเครือจนกล้วยแก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการอาหารมากเหมือนกัน
  • วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    สรรพคุณทางยา
    ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1ผลมีรายงานว่า
    มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองให้หนูขาวกินยาแอสไพริน แล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้เมื่อกินผงกล้วยดิบในปริมาณ 5 กรัม และสามารถรักษาแผลในกระเพาะที่เป็นแล้วได้เมื่อกินในปริมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับสารสกัดจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์ สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก โดยการเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ที่ส่งผลไปถึงการรักษาแผลด้วย
    สำหรับผู้ที่มักจะมีอาการแน่นจุกเสียด ยังสามารถใช้ผลกล้วยดิบฝานบางๆ แล้วตากแห้ง บรรเทาอาการ ปวดท้องจุกเสียดได้อีกด้วย
    นอกจากนี้ ผู้ที่มักจะเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า และน่องบ่อยๆ การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
    เมื่อพูดถึงกล้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผลกล้วยเท่านั้นที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ แทบจะทุกส่วนของกล้วย มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น
    ผลกล้วยสุก บรรเทาอาการท้องผูก ความดันโลหิตสูง เจ็บคอ บำรุงผิว
    ต้นและใบแห้ง นำมาเผา รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก
    หัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนม
    ยาง จากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย ใช้รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
    รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    ดอกกล้วย ช่วยเรื่องประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
    เปลือกกล้วย แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม คัน หรือเป็นผื่น และฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
    สำหรับสรรพคุณของกล้วยในการช่วยป้องกันโรคต่างๆ ก็มีมากมาย ได้แก่
    โรคโลหิตจาง
    กล้วยมีธาตุเหล็กสูง จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ช่วยได้ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง
    โรคความดันโลหิตสูง
    กล้วยมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) ยินยอมให้โฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
    เส้นเลือดฝอยแตก
    จากการวิจัยที่ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine ระบุว่าการรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%








    กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
    สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
    ลักษณะทั่วไป
    กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร
    ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่น ใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์
    ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว
    ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า
    รสชาติ รสฝาด