วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรรพคุณทางยา
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1ผลมีรายงานว่า
มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทดลองให้หนูขาวกินยาแอสไพริน แล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้เมื่อกินผงกล้วยดิบในปริมาณ 5 กรัม และสามารถรักษาแผลในกระเพาะที่เป็นแล้วได้เมื่อกินในปริมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับสารสกัดจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์ สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก โดยการเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ที่ส่งผลไปถึงการรักษาแผลด้วย
สำหรับผู้ที่มักจะมีอาการแน่นจุกเสียด ยังสามารถใช้ผลกล้วยดิบฝานบางๆ แล้วตากแห้ง บรรเทาอาการ ปวดท้องจุกเสียดได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ที่มักจะเป็นตะคริวที่เท้า ข้อเท้า และน่องบ่อยๆ การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
เมื่อพูดถึงกล้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผลกล้วยเท่านั้นที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ แทบจะทุกส่วนของกล้วย มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น
ผลกล้วยสุก บรรเทาอาการท้องผูก ความดันโลหิตสูง เจ็บคอ บำรุงผิว
ต้นและใบแห้ง นำมาเผา รับประทานครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก
หัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนม
ยาง จากปลีกล้วยหรือก้านกล้วย ใช้รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ดอกกล้วย ช่วยเรื่องประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม คัน หรือเป็นผื่น และฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
สำหรับสรรพคุณของกล้วยในการช่วยป้องกันโรคต่างๆ ก็มีมากมาย ได้แก่
โรคโลหิตจาง
กล้วยมีธาตุเหล็กสูง จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ช่วยได้ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง
โรคความดันโลหิตสูง
กล้วยมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) ยินยอมให้โฆษณาได้ว่ากล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
เส้นเลือดฝอยแตก
จากการวิจัยที่ลงในวารสาร The New England Journal of Medicine ระบุว่าการรับประทานกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น